หลายๆ คนมักเห็นว่าการทำกายภาพบำบัดนั้นสามารถทำการรักษารวมไปถึงช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณต่างๆ ของร่างกายให้เบาลงหรือหายได้ ทำให้ในปัจจุบันความนิยมของการทำกายภาพบำบัดก็สูงมากขึ้น ด้วยอัตราผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือมีความผิดปกติต่างๆ ที่ต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดที่เพิ่มมากขึ้น และทางเลือกในการรักษาที่ไม่ต้องเสี่ยงในการรักษาด้วยการผ่าตัด สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้การรักษาทางกายภาพบำบัดได้รับความนิยมมากขึ้น
แต่ในบางครั้ง ผู้คนหลายๆ คนก็ยังไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับการรักษาทางกายภาพบำบัดเนื่องจากเป็นทางเลือกในการรักษาที่เพิ่งจะได้รับความนิยมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้นเราจะหยิบยกหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจที่ว่า ต้องมีอาการปวด-เมื่อยมากน้อยแค่ไหนถึงจะต้องทำกายภาพบำบัด เพื่อให้หลายคนได้เข้าใจการรักษาทางกายภาพบำบัดมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ทุกคนได้มีสุขภาพที่แข็งแรงและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจว่าต้องมีอาการมากน้อยเพียงไหนถึงจะสามารถทำการรักษาทางกายภาพบำบัดได้ เราต้องมีการทำความรู้จักกับกายภาพบำบัด เบื้องต้น เสียก่อน
โดย กายภาพบำบัด เป็นหนึ่งในวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด รวมไปถึงการจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงวัยชรา
กายภาพบำบัดจะทำโดย นักกายภาพบำบัด หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด โดยทำตามคำแนะนำและแนวทางการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการวินิจฉัยอาการผิดปกติของร่างกาย ซึ่งการรักษาทางกายภาพบำบัดก็มีการรักษาที่หลากหลายตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อการรักษา, การรักษาด้วยการดัด - ดึง, การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการรักษา, การประคบความร้อน – ความเย็น, และ การรักษาด้วยมือเปล่า เป็นต้น
ปวด เมื่อย ขนาดไหน ถึงต้องทำกายภาพบำบัด
อาการที่สมควรที่จะเข้ารับการทำกายภาพบำบัดนั้นสามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดได้ตั้งแต่ช่วงแรกของอาการปวดเมื่อยได้เลย เช่น อาการปวดเมื่อที่เป็นมาต่อเนื่องในระยะเวลา 5-7 วันและยังไม่หายไป สามารถทำกายภาพบำบัดเพื่อตรวจสอบหาถึงสาเหตุของการปวดเมื่อยนั้นได้
นอกจากนั้นระยะรุนแรงและระยะเรื้อรังก็สามารถทำกายภาพบำบัดได้เช่นเดียวกัน โดยการรักษาก็จะแตกต่างกันออกไปตามอาการและความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย